รวมทุกเรื่องราวน่าสนใจ

ทะเบียนบ้าน เอกสารสำคัญที่คนมีบ้านต้องมี มีข้อมูลอะไรที่ต้องรู้บ้าง?Highlights ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการที่ระบุข้อมูลของสิ่งก่อสร้างนั้นและข้อมูลของผู้ที่อยู่อาศัยภายในที่อยู่อาศัยนั้น ใน 1 บุคคลสามารถมีชื่อในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น หากเป็นเจ้าของบ้านหลายหลังจะต้องใช้ชื่อบุคคลอื่นแทน หรือสามารถปล่อยว่างได้หากไม่สามารถหาบุคคลอื่นแทนได้แล้ว เจ้าบ้าน อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรืออื่น ๆ ได้ โดยเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เช่น แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้าออกบ้าน เป็นต้น ผู้ที่มีสิทธิ์ขาย โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทะเบียนบ้านนั้นจะเป็นเจ้าของบ้าน ไม่ใช่เจ้าบ้าน ทะเบียนบ้าน คืออะไร? ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารราชการที่นายทะเบียนออกให้กับสิ่งปลูกสร้างสำหรับพักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ตึกแถว และอื่น ๆ โดยสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านนั้น ๆ ที่สร้างแล้วเสร็จทุกหลังจะต้องยื่นขอทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ซึ่งภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วยข้อมูลของบ้าน และข้อมูลของบุคคลที่เป็นเจ้าของหรืออาศัยในบ้าน   คลายข้อสงสัย เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้านต่างกันอย่างไร หลายคนอาจสับสนระหว่างเจ้าบ้าน และเจ้าของบ้าน ถึงแม้ว่าจะดูคล้ายกัน แต่ในทางกฎหมาย ทั้งสองคำนี้มีความหมายและหน้าที่แตกต่างกัน โดยสามารถแยกความหมายและหน้าที่ได้ดังนี้ ความหมายของ ‘เจ้าบ้าน’ กับ ‘เจ้าของบ้าน’ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าของบ้าน ซึ่งอาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรืออื่น ๆ ก็ได้ และกรณีที่ไม่มีชื่อเจ้าบ้าน เจ้าบ้านไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ หรือเจ้าบ้านเสียชีวิต ผู้ดูแลบ้านคนอื่น ๆ ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็สามารถขึ้นมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ซึ่งเจ้าของบ้านอาจเป็นเจ้าบ้าน ผู้ดูแลบ้าน หรืออาจไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้นก็ได้ หน้าที่ของ ‘เจ้าบ้าน’ กับ ‘เจ้าของบ้าน’ หน้าที่ของเจ้าบ้าน คือ การแจ้งเรื่องต่าง ๆ ตามข้อบัญญัติ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้า-ออกที่อยู่ของผู้อาศัยในบ้าน และอาจรับผิดชอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ภายในบ้าน หน้าที่ของเจ้าของบ้าน คือ การรับผิดชอบเกี่ยวกับการขาย โอนบ้านและที่ดินตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสามารถถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้อื่น รวมถึงแต่งตั้งเจ้าบ้านได้ด้วย ข้อมูลภายในทะเบียนบ้าน มีอะไรบ้าง? ภายในทะเบียนบ้านจะมีรายละเอียดของบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น ๆ โดยมีข้อมูลดังนี้   ข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน เลขรหัสประจำบ้าน : จะมีทั้งหมด 11 หลัก โดยเรียงจากรหัสจังหวัด รหัสอำเภอ และลำดับบ้านในสำนักทะเบียน  รายละเอียดที่อยู่ : เป็นตำแหน่งของบ้านหลังนั้น ๆ ซึ่งข้อมูลนี้มักนำไปใช้กรอกเอกสารอื่น ๆ โดยมีข้อมูล บ้านเลขที่ หมู่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต และจังหวัด ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อบ้าน : ระบุชื่อหมู่บ้านหรือโครงการบ้าน ประเภทและลักษณะบ้าน : ระบุลักษณะของที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ตึกแถว คอนโด ฯลฯ วันกำหนดเลขที่บ้าน : ระบุวัน เดือน ปี ที่กำหนดเลขที่บ้าน  ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่อยู่อาศัยในบ้าน ข้อมูลทั่วไป : เป็นข้อมูลจำเพาะของบุคคลที่อยู่อาศัยในบ้านแต่ละคน ใน 1 ชื่อมักจะมี ชื่อ, นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, เลขบัตรประชาชน, เพศ, สัญชาติ, ชื่อบิดามารดา และประวัติการย้ายที่อยู่ สถานภาพ : ภายในทะเบียนบ้านจะมีเพียง 1 คนที่มีตำแหน่งเจ้าบ้าน และบุคคลที่เหลือจะมีเพียงชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น ทะเบียนบ้าน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ทะเบียนบ้านสามารถแยกได้อีก 5 ประเภท แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้ ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)  ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน เป็นทะเบียนบ้านของผู้ที่มีสัญชาติไทย หรือต่างด้าวที่พำนักอาศัยโดยมีใบสำคัญประจำตัว ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13)  ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้กับคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบตามกฎหมายชั่วคราว หรือต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทะเบียนบ้านชั่วคราว ทะเบียนบ้านชั่วคราว เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้กับสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เช่น สร้างในที่สาธารณะ สร้างโดยบุกรุก หรือป่าสงวน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านสำหรับผู้ที่แจ้งออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อไปยังบ้านเลขที่ใหม่ หรือเพื่อเดินทางออกนอกประเทศ ทะเบียนบ้านกลาง ทะเบียนบ้านกลาง ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนจัดทำให้ผู้ที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน   การขอทะเบียนบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เมื่อสิ่งปลูกสร้างสำหรับพักอาศัยสร้างแล้วเสร็จ จะทำทะเบียนบ้าน ต้องใช้อะไรบ้าง? ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นการแสดงว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นดำเนินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร โฉนดที่ดิน หรือเอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน  กรณีที่เป็นผู้ได้รับมอบหมาย จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ เอกสาร ท.ร.9 ที่ออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นที่อยู่ในเขตของสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการขอทะเบียนบ้าน เช็กลิสต์ ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน ทำตามได้ง่าย ๆ การขอทะเบียนบ้านใหม่ไม่ได้วุ่นวายอย่างที่คิด ทำตามขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านได้ง่าย ๆ ดังนี้ ยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้าน : เตรียมเอกสารและยื่นคำร้องให้กับสำนักทะเบียนในพื้นที่ที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วันนับจากวันที่สร้างเสร็จ หากเลยเวลาที่กำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตรวจสอบเอกสาร : นายทะเบียนได้รับเอกสารและคำร้องจากผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน และทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนจะดำเนินการออกเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน โดยระยะเวลาดำเนินเรื่องจะอยู่ในช่วง 7-30 วัน ส่งมอบ : เมื่อเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านออก นายทะเบียนจะทำการส่งมอบให้กับผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน ย้ายเข้า : เมื่อได้ทะเบียนบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็สามารถดำเนินการย้ายชื่อผู้อยู่อาศัยเข้าทะเบียนบ้านได้ ต้องการแจ้งชื่อย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร? ผู้ที่เป็นเจ้าบ้านมีหน้าที่ในการแจ้งย้ายชื่อเข้าหรือออกจากทะเบียนบ้าน หากต้องการเดินเรื่องจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่มีการย้ายเข้าหรือย้ายออก ซึ่งการทำเรื่องย้ายชื่อเข้า-ออกจากทะเบียนบ้านจะต้องใช้เอกสารดังนี้   เอกสารสำหรับการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว กรณีที่ผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน พร้อมยื่นบัตรประชาชนต่อนายทะเบียนด้วย เอกสารสำหรับการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีที่ผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน พร้อมยื่นบัตรประชาชนต่อนายทะเบียนด้วย หากมีบ้านหลายหลัง จะใส่ชื่อในทะเบียนบ้านอย่างไร? ตามกฎหมาย 1 บุคคลจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น หากมีบ้านหลายหลังอาจต้องใช้ชื่อของคนในครอบครัวมาใส่แทน เนื่องจากการมีชื่อในทะเบียนบ้านหลายเล่มจะมีผลกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน 1. ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อได้ไหม? ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อได้ แต่อาจมีเรื่องภาษีเมื่อขายบ้าน สำหรับบ้านที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและถือครองไม่ถึง 1 ปีจะต้องเสียภาษีธุรกิจตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534   2. สามารถขอทะเบียนบ้านแทนบุคคลอื่นได้หรือไม่? กรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านด้วยตนเอง เจ้าของบ้านสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นติดต่อขอทะเบียนบ้านแทนได้   3. ทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย ควรทำอย่างไร กรณีที่ทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย สามารถยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนเพื่อขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ได้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมคือ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหากเจ้าบ้านไม่สามารถยื่นเรื่องด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ   ซื้อบ้านหลังใหม่ ยื่นขอทะเบียนบ้านไม่ยากอย่างที่คิด  ทะเบียนบ้านก็เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวของบ้านหลังนั้น ๆ ที่ทุกบ้านจะต้องมี เมื่อสร้างบ้านใหม่แล้วเสร็จ เจ้าของบ้านมีหน้าที่ยื่นขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วันตามกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนการขอเลขที่บ้านในปัจจุบันไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ไม่ว่าจะยื่นแบบปกติหรือยื่นแบบออนไลน์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อให้การเดินเรื่องเป็นไปอย่างราบรื่น แนะนำให้เตรียมเอกสารสำคัญให้พร้อม และตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้าน
Research and Knowledge
คนมีบ้านต้องรู้! ขอทะเบียนบ้านใหม่ มีขั้นตอนและเอกสารอะไรบ้างHighlights การขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้านเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และจำเป็นต้องปฏิบัติตามเมื่อก่อสร้างที่พักอาศัยต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่เจ้าบ้านมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปขอทะเบียนบ้านแทน จำเป็นจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจด้วย การขอทะเบียนบ้านใหม่ สามารถขอได้ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ  เอกสารที่ต้องเตรียมไม่ซับซ้อน และมีขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้านที่ไม่ยุ่งยาก ทำความรู้จักกับทะเบียนบ้านคืออะไร มีกี่ประเภท? ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านที่มีการแสดงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับที่พักอาศัยประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะบ้าน, ทาวน์โฮม, บ้านแฝด, คอนโด โดยตัวอย่างข้อมูลที่แสดงภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วย ลักษณะบ้าน, รายละเอียดที่อยู่, รหัสประจำบ้าน, และอื่น ๆ นอกจากนี้ ทะเบียนบ้านยังระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของบุคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ้าน หรือผู้พักอาศัยอีกด้วย   โดยทะเบียนบ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน : เป็นทะเบียนบ้านที่ใคร ๆ ก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะทะเบียนบ้านประเภทนี้คือทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย และบุคคลต่างด้าวที่มีเอกสารสำคัญประจำตัว ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง : เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้ชาวต่างชาติที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบชั่วคราวอย่างถูกกฎหมาย และยังรวมการเข้าเมืองแบบไม่ถูกกฎหมาย ทะเบียนบ้านกลาง : ทะเบียนบ้านที่ออกให้สำหรับผู้ที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแบบทั่วไป ทะเบียนบ้านชั่วคราว : ทะเบียนบ้านที่ออกให้ในกรณีที่พักอาศัยดังกล่าวไม่ก่อสร้างตามกฎหมาย รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะ ในเขตบุกรุก และเขตป่าสงวน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน : เป็นทะเบียนบ้านที่ออกในกรณีผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านทั่วไป มีความประสงค์แจ้งย้ายออกไปยังที่อยู่ใหม่ ทำไมถึงต้องขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้าน การขอทะเบียนถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ทางกฎหมายกำหนด และต้องปฏิบัติตามเมื่อมีการก่อสร้างที่พักอาศัยต่าง ๆ ขึ้น หากมีการละเลย ไม่ขอทะเบียนบ้าน และเลขที่บ้านจะถือว่าผิดกฎหมาย โดยมีการกำหนดให้ยื่นขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน (นับตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ) หากหลังจากนั้นไม่ได้มีการยื่นเรื่องขอ จะเสียค่าปรับ 1,000 บาท   เอกสารที่ในการขอทะเบียนบ้านใหม่ ใช้อะไรบ้าง  ทําทะเบียนบ้านใหม่ ใช้อะไรบ้าง? รวบรวมเอกสารสำหรับใช้ในการขอทะเบียนบ้านใหม่ มีดังนี้ เอกสารใบ ท.ร.9 (ใบแจ้งเกี่ยวกับบ้าน) เอกสารใบอ.1 (ใบรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฏหมาย) สำเนาบัตรประชาชน  โฉนดที่ดิน หรือเอกสารในการแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดิน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เจ้าบ้านมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาขอทะเบียนบ้านแทน จำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ได้แก่ หนังสือมอบอำนาจพร้อมระบุรายละเอียด และลงชื่อผู้มอบอำนาจให้เรียบร้อย, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน-ผู้รับมอบอำนาจมาแทน และสำเนาทะเบียนบ้าน   ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านใหม่ทำอย่างไรบ้าง  อยากทำทะเบียนบ้านใหม่ต้องรู้ กับขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ติดต่อดำเนินการขอทะเบียนบ้านใหม่กับหน่วยงานในพื้นที่ของที่พักอาศัยที่ปลูกสร้างขึ้น หากเป็นในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่ “สำนักงานเขต” ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดให้ติดต่อขอทะเบียนบ้านใหม่ยัง“ที่ว่าการอำเภอ” เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารที่ได้รับแล้ว จะทำการออกเลขที่บ้าน เล่มทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน จากนั้นจะส่งมอบเล่มให้กับผู้ที่ขอทะเบียนบ้าน เป็นอันเสร็จสิ้น ชวนอ่านบทความดี ๆ เพิ่มเติม : ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ทำอย่างไรให้สะดวก และรวดเร็ว   ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ ทำด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ มีอะไรบ้าง นอกจากการขอทะเบียนบ้านแบบปกติแล้ว เพื่อความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการเดินทางในการขอทะเบียนบ้าน ยังมีอีกหนึ่งในขั้นตอนง่าย ๆ ที่สามารถทำที่ไหนก็ได้อย่างการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และสะดวยสบาย ดังนี้ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DOPA-Digital ID ลงโทรศัพท์มือถือของคุณ รับรหัสผ่าน (PIN) เพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน โดยนำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตนลายนิ้วมือ และใบหน้ากับเจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนที่สำนักงานเขต สำนักงานเบียนอำเภอ หรือ สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม นอกจากการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันแล้ว ยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกกับประชาชน   อ่านบทความดี ๆ เพิ่มเติมที่คุณไม่ควรพลาดได้เลย : ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ บริการที่ให้คุณทำเองได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องต่อคิว!   คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับขอทะเบียนบ้านใหม่ 1. ขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่ไหน? ผู้ที่มีที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต้องการขอทะเบียนบ้านใหม่สามารถขอได้ที่ “สำนักงานเขต” ส่วนผู้ที่มีที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ สามารถขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่ “ที่ว่าการอำเภอ”   2. ขอทะเบียนบ้านใหม่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร? สำหรับการขอทะเบียนบ้านจะมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการฉบับละ 20 บาท    3. กรณีทะเบียนบ้านสูญหาย ต้องการขอทะเบียนบ้านใหม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ในกรณีที่ทะเบียนบ้านสูญหาย และมีความต้องการขอเล่มใหม่ กรณีนี้ใช้เอกสารเพียงบัตรประชาชนของเจ้าบ้านเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ เพื่อนำใบแจ้งความมาใช้เป็นเอกสารประกอบในยื่นคำร้องแต่อย่างใด   ขอทะเบียนบ้านใหม่ เตรียมเอกสารง่าย ทำเองได้ไม่ยาก เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับสาระดี ๆ เกี่ยวกับการขอทะเบียนบ้านใหม่ จะเห็นได้การขอทะเบียนบ้านนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทางกฎหมายบังคับให้ยื่นเรื่องขอตามระยะเวลาที่กำหนด ที่สำคัญยังมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน สามารถยื่นดำเนินเรื่องขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือแม้กระทั่งจะยื่นขอทางออนไลน์ก็ได้เช่นกัน
Research and Knowledge
ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ต้องทำอะไรบ้าง? เจาะลึกวิธีไหว้แบบละเอียดและถูกต้อง!การไหว้เจ้าที่หน้าบ้านเป็นประเพณีที่คนไทยปฏิบัติมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่าการไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลปกป้องบ้านเรือน แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าการไหว้ศาลเจ้าที่ที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก บทสวดไหว้เจ้าที่บ้านเป็นอย่างไร และไหว้เจ้าที่ใช้อะไรบ้าง บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจทุกประเด็น พร้อมเจาะลึกวิธีไหว้เจ้าที่แบบละเอียด เพื่อให้คุณประกอบพิธีได้อย่างถูกต้อง   Highlights การไหว้เจ้าที่บ้านใช้ธูปกี่ดอก ตามความเชื่อดั้งเดิมแนะนำให้จุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอกและเทียน 2 เล่ม พร้อมถวายเครื่องสักการะอื่น ๆ เช่น ดอกไม้สด อาหารคาวหวาน พระภูมิและเจ้าที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อไทย โดยพระภูมิเป็นเทพารักษ์ที่ดูแลพื้นที่โดยรวม ส่วนเจ้าที่เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่เคยอยู่อาศัยในบริเวณนั้นมาก่อน การไหว้เจ้าที่ควรทำในช่วงเช้าถึงเที่ยง ระหว่าง 08:39 - 10:09 น. ของวันอังคารหรือวันเสาร์ โดยทั่วไปแนะนำให้ไหว้ทุก 3 หรือ 6 เดือน ความแตกต่างระหว่างศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่คืออะไร? ศาลพระภูมิและศาลเจ้าสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านเรือน คอนโด และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของความหมาย ลักษณะ ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก และวิธีบูชา ซึ่งการทำความเข้าใจความแตกต่างจะช่วยให้เราไหว้ศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่ได้อย่างถูกต้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้   ศาลพระภูมิ การไหว้ศาลพระภูมิเป็นที่สถิตของเทพผู้พิทักษ์ที่ปกป้องดูแลบ้านเรือน โดยลักษณะของศาลพระภูมิมักเป็นอาคารจำลองขนาดย่อมตั้งอยู่บนเสาเดี่ยว อยู่บนพื้นที่โล่ง ไม่ถูกบังด้วยเงาบ้าน ไม่ตรงกับประตู และสูงเหนือระดับสายตาเพื่อแสดงความเคารพ ซึ่งการบูชาและถวายข้าวพระภูมิเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล   ศาลเจ้าที่ ศาลเจ้าที่หรือศาลตายาย เป็นการแสดงความเคารพต่อวิญญาณผู้ดูแลที่ดินมาแต่เดิม โดยการจุดธูปบอกเจ้าที่เป็นการเชิญผู้พิทักษ์เดิมให้มาสถิต โครงสร้างของศาลมักจำลองแบบเรือนไทยย่อส่วน ฐานมีเสา 4-6 ต้น สูงน้อยกว่าศาลพระภูมิ ควรอยู่ในพื้นที่โล่งสะอาดตา และหลีกเลี่ยงการตั้งศาลในตำแหน่งที่ตรงกับทางเข้า ห้องน้ำ หรือใต้บันได    ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก เคล็ดลับการไหว้อย่างถูกวิธี การไหว้เจ้าที่บ้านใช้ธูปกี่ดอก คำตอบก็คือความเชื่อดั้งเดิมนั้น การจุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอกและเทียน 2 เล่ม ถือเป็นจำนวนที่เหมาะสมและเป็นมงคล โดยนอกจากธูปแล้ว อาจมีการถวายเครื่องสักการะอื่น ๆ ประกอบคาถาไหว้เจ้าที่ในบ้าน เช่น ดอกไม้สด อาหารคาวหวาน   ความหมายของจำนวนธูป ข้อควรรู้ที่ต้องเช็กก่อนจุด! การจุดธูปเป็นส่วนสำคัญของคํากล่าวไหว้เจ้าที่ ศาลพระภูมิ และพิธีกรรมหลายอย่าง ซึ่งจำนวนธูปที่ใช้นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะจุดธูปในคาถาบูชาเจ้าที่หรือในโอกาสต่าง ๆ จึงมีข้อควรรู้ ดังนี้ ธูป 1 ดอก : มักใช้ในการบูชาวิญญาณท้องถิ่น เช่น ผีบ้านผีเรือน ธูป 3 ดอก : แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ธูป 5 ดอก : บูชาเจ้าที่ รวมถึงพระรัตนตรัยและแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา ธูป 7 ดอก : ใช้ในการติดต่อกับจิตวิญญาณ โดยเฉพาะศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ ธูป 9 ดอก : บูชาเทพเจ้าระดับสูง เจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวดา การไหว้ศาลพระภูมิให้ถูกต้องตามธรรมเนียมปฏิบัติ การไหว้ศาลพระภูมิเป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาบ้าน ทาวน์โฮม และที่ดิน ซึ่งการปฏิบัตินั้นมีรายละเอียดที่ควรใส่ใจ โดยเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติและครอบครัว ในหัวข้อนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงวิธีไหว้ศาลพระภูมิอย่างถูกต้องกัน   บทสวดไหว้ศาลพระภูมิ คาถาไหว้ศาลพระภูมิเริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3 ครั้ง จากนั้นจึงเข้าสู่บทไหว้ศาลพระภูมิ "ยัสสา มุสสะระเณ นาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ปะติฎ ฐะมะ ธิคัจฉันติ ภูมิยังวิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจรา ทิสัมภะวา คะณะนา ณะจะ มุตตานัง ปะริตตันตัม ภาณามะเหฯ”   ของถวายศาลพระภูมิ การถวายข้าวศาลพระภูมิประกอบด้วยอาหารหลากหลายประเภท เริ่มจากอาหารคาวที่ปรุงสุกแล้ว เช่น ข้าวสวย แกงจืด และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ตามด้วยขนมหวานไทยที่มีชื่อเป็นมงคล อาทิ ทองหยิบ ฝอยทอง ส่วนผลไม้ไหว้ศาลพระภูมิ 5 อย่างจะเป็นผลไม้มงคล อย่างกล้วย มะพร้าว เครื่องดื่มมีทั้งน้ำเปล่า น้ำหวาน หรือสุรา   วันและเวลาที่ควรไหว้ ไหว้ศาลพระภูมิ เวลาไหนดี ตามความเชื่อ วันที่เหมาะสมมีหลากหลาย ได้แก่ วันคล้ายวันเกิดของผู้ทำพิธี วันพระ รวมถึงวันอังคารและวันเสาร์ ซึ่งถือเป็นวันมงคล สำหรับคนที่ได้ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ 2567 แล้ว ขอแนะนำให้ทำพิธีในช่วงเช้าถึงเที่ยง โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 09.09 น. ซึ่งถือเป็นเวลามงคล ไปจนถึงเวลาเที่ยงตรง   การไหว้ศาลเจ้าที่มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? หลังจากรู้แล้วว่าการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก พิธีนี้ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่อาจไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย โดยในหัวข้อนี้เราจะมาทำความรู้จักกับข้อควรรู้เกี่ยวกับพิธีและบทไหว้เจ้าที่บ้าน โดยมีข้อมูลดังนี้   บทสวดไหว้ศาลเจ้าที่ คาถาไหว้ศาลตายายหรือศาลเจ้าที่ เริ่มจากการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3 ครั้ง จากนั้นจึงสวดคาถาไหว้เจ้าที่บ้านบทเฉพาะ “ตา-ยาย ยัสมิง ทิสาภาเค สันติ ตายายเทวา มหิทธิกา เตปิตุมเห อนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะจะ” 3 ครั้ง และต่อด้วย “สิโรเม ขอเดชะ ตายายเทวา เจ้าของที่ ขอให้ช่วยดูแลคุ้มครองรักษาบ้านเรือน (ชื่อสถานที่) และข้าพเจ้าผู้อยู่อาศัยในสถานที่นี้ (คำอธิษฐาน) โสตถิ ชัยยะ ภะวันตุ เม”   ของถวายศาลเจ้าที่ ของถวายประกอบคาถาไหว้เจ้าที่บ้านกลางแจ้งมีทั้งคาวและหวาน เช่น อาหารปรุงสุกจากเนื้อสัตว์ ข้าว และแกงต่าง ๆ ส่วนขนมหวานมักเป็นขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคล ผลไม้ที่เลือกใช้ก็มีความหมายดี โดยเครื่องดื่มที่นิยมถวาย ได้แก่ น้ำเปล่า ชา และน้ำอัดลม โดยเฉพาะน้ำแดงที่สื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์   วันและเวลาที่ควรไหว้ การไหว้เจ้าที่ก่อนเข้าอยู่บ้านใหม่มักทำในช่วงเช้าถึงเที่ยงของวัน แต่หากต้องการความเป็นสิริมงคลสูงสุดในการขึ้นบ้านใหม่ ควรเลือกช่วงเวลาระหว่าง 8:39-10:09 น. ของวันอังคารหรือวันเสาร์ นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำให้ปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อขอพรให้คุ้มครองผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง   ตำแหน่งการจัดวางศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  นอกจากเรื่องการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ไหว้ศาลพระภูมิใช้ธูปกี่ดอกแล้ว การจัดวางศาลแต่ละประเภทก็มีความแตกต่าง ซึ่งศาลทั้งสองต้องไม่ตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน โดยศาลพระภูมิมักตั้งบนพื้นดินนอกตัวบ้าน ห่างจากรั้วอย่างน้อย 1 เมตร และสูงกว่าระดับสายตา ขณะที่ศาลเจ้าที่สามารถตั้งภายในบ้านบนพื้นธรรมดาได้ โดยอาจเสริมด้วยแผ่นเงินหรือทองใต้ศาล   คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก แม้ว่าการไหว้เจ้าที่จะเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ แต่ก็ยังมีคำถามและข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยในส่วนนี้เราจะมาดูคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการไหว้เจ้าที่ เพื่อให้เข้าใจประเพณีนี้ได้ดียิ่งขึ้น   1. การลาของไหว้เจ้าที่ทำอย่างไร การลาของไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง หลังจากธูปดับแล้ว ให้ดับเทียนและนำมือแตะที่ภาชนะใส่เครื่องเซ่นไหว้ จากนั้นกล่าวคำอัญเชิญให้เจ้าที่อนุญาต เช่น "ขอเดนขอทานให้ลูกหลานได้กิน เพื่อความเป็นสิริมงคล" โดยคำกล่าวอาจแตกต่างกันไปตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น   2. ไหว้เจ้าที่บ้านบ่อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสม ความถี่ในการไหว้เจ้าที่ไม่มีแน่นอนตายตัว ต่างจากเรื่องการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก โดยความถี่จะขึ้นอยู่กับความสะดวกและสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วแนะนำให้ทำพิธีทุก 3-6 เดือน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติด้วยความจริงใจและสม่ำเสมอ ตามกำลังความสามารถของแต่ละครอบครัว   สรุป การไหว้เจ้าที่ พิธีศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล แม้ว่าโลกปัจจุบันจะก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่การรักษาประเพณีดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นเรื่องฤกษ์ยาม ของขวัญขึ้นบ้านใหม่ที่เป็นมงคล ไปจนถึงการไหว้เจ้าที่บ้านก็ยังคงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้คน พิธีกรรมนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้รวมตัวกัน การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม เช่น การไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดภูมิปัญญาและความเชื่อจากบรรพบุรุษ ซึ่งช่วยให้เกิดความสบายใจและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้เป็นอย่างดี
Inspiration
ค่าธรรมเนียม ขายฝาก พร้อมข้อควรรู้ อัปเดตปี 2567Highlights ขายฝาก คือ การที่ผู้ขาย ขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อ โดยผู้ขายยังคงมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่ต้องชำระ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน และค่านายหน้า ไถ่ถอนขายฝาก เสียค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.5%  โดยปกติ ผู้ขายฝากเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม แต่สามารถตกลงกันได้ในสัญญา กรณีต่อสัญญาขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินแปลงละ 50 บาท ค่าธรรมเนียมขายฝาก ที่ต้องชำระมีอะไรบ้าง ฉบับปี 2567 สำหรับผู้ที่ต้องการขายฝากที่ดิน คำถามที่หลายคนสงสัยคงหนีไม่พ้น ขายฝากต้องเสียค่าอะไรบ้าง? โดยปกติแล้วการขายฝากที่ดิน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน และค่านายหน้า  ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน ประกอบไปด้วย ค่าคำขอ : แปลงละ 5 บาท เป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอจดทะเบียนขายฝาก ค่าพยาน : 20 บาท เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับพยานในการทำสัญญา ค่าธรรมเนียมการโอน : คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : คิดเป็น 3.3% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก โดยจะเสียในกรณีที่ถือครองที่ดินน้อยกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี (บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีขายฝากที่ดิน แบบธุรกิจเฉพาะ) ค่าอากรแสตมป์ : คิดเป็น 0.5% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า หากมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง : คิดเป็น 1% ของจำนวนเงินกู้หรือวงเงินจำนอง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย : คำนวณตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครองทรัพย์สินและอัตราภาษีที่กำหนด นอกจากค่าธรรมเนียมข้างต้นแล้วในกรณีที่จ้างนายหน้า จะต้องจ่ายค่านายหน้า เมื่อนายหน้าสามารถหาผู้รับซื้อฝากได้สำเร็จ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งค่าธรรมเนียม ขายฝาก ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาประเมินหรือราคาขายฝากของทรัพย์สิน โดยปกติแล้วจะคิด 5% ของยอดการขายฝาก วิธีคำนวณค่าธรรมเนียมขายฝาก ในส่วนที่ต้องให้นายหน้า เช่น ขายฝากที่ดิน 5 ล้านบาท เสียค่านายหน้า 250,000 บาท    การขายฝากคืออะไร การขายฝาก คือการที่ผู้ขาย ขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อ โดยผู้ขายยังคงมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หากผู้ขายสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินภายในระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินนั้นจะกลับคืนเป็นของผู้ขาย แต่หากไม่สามารถไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นของผู้ซื้ออย่างถาวร ปกติแล้วการขายฝากมักใช้ในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน โดยที่ยังต้องการเก็บสิทธิ์ในการได้ทรัพย์สินนั้นคืน หากสามารถหาเงินมาไถ่ถอนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา   ขายฝากกับจํานอง ต่างกันอย่างไร? หลายคนมักจะสับสนระหว่างการขายฝากกับการจำนอง เนื่องจากทั้งสองอย่างเป็นการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน แต่มีความแตกต่างกัน โดยการขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากมีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่การจำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงอยู่กับผู้จำนอง แต่จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการโอนหรือจำนองทรัพย์สินนั้น   ขั้นตอนการขายฝาก มีอะไรบ้าง? การขายฝาก เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสดอย่างรวดเร็ว โดยยังคงสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินกลับคืนในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจทำสัญญาขายฝาก ควรทราบถึงค่าธรรมเนียม ขายฝาก และขั้นตอนต่าง ๆ ในการดำเนินการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ : ได้แก่ ปรึกษาทนายความ เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาและเงื่อนไขต่าง ๆ ปรึกษานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยประเมินราคาทรัพย์สินและหาผู้รับซื้อฝาก และปรึกษาสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อหรือปรึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระหนี้ ประเมินราคาทรัพย์สิน : ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อกำหนดวงเงินกู้ที่ได้รับ เตรียมเอกสาร : เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น โฉนดที่ดิน บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ทำสัญญาขายฝาก : ทำสัญญาขายฝากระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก โดยระบุรายละเอียด เช่น ราคาทรัพย์สิน ระยะเวลาในการไถ่ถอน และอัตราดอกเบี้ย จดทะเบียนสัญญา : นำสัญญาไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน เพื่อให้สัญญามีผลทางกฎหมาย รับเงิน : ผู้ขายฝากจะได้รับเงินกู้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ ชำระหนี้ : ผู้ขายฝากต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา พร้อมทั้งดอกเบี้ย ไถ่ถอนทรัพย์สิน : เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ เอกสารที่ใช้ในการขายฝาก มีอะไรบ้าง? นอกจากค่าธรรมเนียม ขายฝาก อีกสิ่งที่ผู้ขายทุกคนจะต้องรู้ คือเอกสารที่ต้องใช้ในการขายฝาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการขายฝาก เพื่อให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และมีความถูกต้องตามกฎหมาย การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนจะช่วยให้กระบวนการขายฝากเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็วและไม่มีปัญหา โดยควรเตรียมเอกสาร ดังนี้ เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน : เช่น โฉนดที่ดิน หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ บัตรประชาชนของผู้ขายและผู้ซื้อ : ใช้เพื่อยืนยันตัวตนของทั้งสองฝ่าย ทะเบียนบ้านของผู้ขายและผู้ซื้อ : ใช้ตรวจสอบที่อยู่และข้อมูลส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย เอกสารการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน : รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ในการกำหนดราคาขายฝาก สัญญาขายฝาก : เอกสารที่ร่างขึ้นโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน, ราคาขายฝาก, ระยะเวลาไถ่ถอน และเงื่อนไขการไถ่ถอน ใบเสร็จรับเงิน : เอกสารที่แสดงการรับเงินจากการขายฝาก (ถ้ามี) เอกสารการจดทะเบียนขายฝาก : เช่น แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนขายฝาก คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ขายฝาก 1. หากไถ่ถอนขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมไหม? การไถ่ถอนขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน ค่าธรรมเนียม ขายฝากนี้จะคิดจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ไถ่ถอน โดยอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปตามประเภทของทรัพย์สินและมูลค่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น  ค่าคำขอ : แปลงละ 5 บาท ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาที่ไถ่ถอน ค่าพยาน : 20 บาท ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม : 2% ของราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : บุคคลธรรมดา : ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ นิติบุคคล : ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย : คิดจากราคาประเมินที่ดิน และระยะเวลาการไถ่ถอนนับจากวันที่จดทะเบียนขายฝากจนถึงวันไถ่ถอน 2. ใครเป็นคนชำระค่าธรรมเนียมขายฝาก? อีกคำถามที่หลายคนสงสัย คือค่าธรรมเนียมขายฝาก ใครจ่าย? โดยปกติแล้ว ผู้ขายฝากจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการขายฝาก อย่างไรก็ตาม สามารถตกลงกันได้ระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากว่าใครจะเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้าง โดยอาจระบุไว้ในสัญญาขายฝาก   3. กรณีต่อสัญญาขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร และทำอย่างไรบ้าง? ค่าธรรมเนียมต่อสัญญาขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญาที่สำนักงานที่ดิน สำหรับใครที่ต้องการทราบว่าค่าธรรมเนียม ในการต่อสัญญาขายฝากที่ดินเท่าไหร่ โดยปกติ ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาขายฝาก มักจะคิดแปลงละ 50 บาท อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมนี้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสัญญาเดิม และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสัญญาใหม่ ขั้นตอนการต่อสัญญาขายฝากโดยทั่วไป ตกลงกัน : ทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากต้องตกลงร่วมกันว่าจะขยายระยะเวลาการไถ่ถอน โดยทำเป็นหนังสือข้อตกลงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เตรียมเอกสาร : หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน (โฉนด) สัญญาขายฝากฉบับเดิม หนังสือข้อตกลงขยายสัญญาขายฝาก (ลงนามโดยทั้งสองฝ่าย) ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของทั้งสองฝ่าย ยื่นคำขอ : นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน ชำระค่าธรรมเนียม : ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญา รับหนังสือรับรองการจดทะเบียน : เมื่อการจดทะเบียนเสร็จสิ้น จะได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนฉบับใหม่ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก อัปเดตฉบับปี 2567 เรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ การทำธุรกรรมขายฝาก นอกจากตัวสัญญาแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรณี โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สิน และระยะเวลาที่ถือครองทรัพย์สิน   ค่าธรรมเนียมขายฝากที่ดิน 2567 ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน, ค่าอากรแสตมป์, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าทนายความ และค่านายหน้า    สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าค่าธรรมเนียมขายฝาก คิดยังไง จริง ๆ แล้วค่าธรรมเนียม ขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ที่คุณจะดำเนินการ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี หรือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรและสำนักงานที่ดิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกรณีของคุณ
Research and Knowledge