เมนู
ค้นหา
โครงการ
โปรโมชัน
บริการ
ข่าวความเคลื่อนไหว
บทความน่าสนใจ
รู้ใจ คลับ
การเสนอขายเสนอเช่าที่ดิน
สมัครงาน
เกี่ยวกับเรา
นักลงทุนสัมพันธ์
ติดต่อเรา
Bridge Estate
เกี่ยวกับเรา
แบรนด์
เอสซี มอร์นิง คอยน์
ความยั่งยืน
คณะกรรมการ
เลขานุการ
การกำกับดูแลกิจการ
ขอขึ้นทะเบียนคู่ค้า
รางวัล
นักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้น
ข้อมูลนักวิเคราะห์
ถามตอบ
ค้นหาเลย
การค้นหาที่แนะนำ
ค้นหาขั้นสูง
บ้านเดี่ยว
ทาวน์โฮม/โฮมออฟฟิศ
คอนโดมิเนียม
รวมทุกเรื่องราวน่าสนใจ
ทะเบียนบ้าน เอกสารสำคัญที่คนมีบ้านต้องมี มีข้อมูลอะไรที่ต้องรู้บ้าง?
Highlights ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการที่ระบุข้อมูลของสิ่งก่อสร้างนั้นและข้อมูลของผู้ที่อยู่อาศัยภายในที่อยู่อาศัยนั้น ใน 1 บุคคลสามารถมีชื่อในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น หากเป็นเจ้าของบ้านหลายหลังจะต้องใช้ชื่อบุคคลอื่นแทน หรือสามารถปล่อยว่างได้หากไม่สามารถหาบุคคลอื่นแทนได้แล้ว เจ้าบ้าน อาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรืออื่น ๆ ได้ โดยเจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน เช่น แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้าออกบ้าน เป็นต้น ผู้ที่มีสิทธิ์ขาย โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทะเบียนบ้านนั้นจะเป็นเจ้าของบ้าน ไม่ใช่เจ้าบ้าน ทะเบียนบ้าน คืออะไร? ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารราชการที่นายทะเบียนออกให้กับสิ่งปลูกสร้างสำหรับพักอาศัย เช่น บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ตึกแถว และอื่น ๆ โดยสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านนั้น ๆ ที่สร้างแล้วเสร็จทุกหลังจะต้องยื่นขอทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ซึ่งภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วยข้อมูลของบ้าน และข้อมูลของบุคคลที่เป็นเจ้าของหรืออาศัยในบ้าน คลายข้อสงสัย เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้านต่างกันอย่างไร หลายคนอาจสับสนระหว่างเจ้าบ้าน และเจ้าของบ้าน ถึงแม้ว่าจะดูคล้ายกัน แต่ในทางกฎหมาย ทั้งสองคำนี้มีความหมายและหน้าที่แตกต่างกัน โดยสามารถแยกความหมายและหน้าที่ได้ดังนี้ ความหมายของ ‘เจ้าบ้าน’ กับ ‘เจ้าของบ้าน’ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าของบ้าน ซึ่งอาจเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรืออื่น ๆ ก็ได้ และกรณีที่ไม่มีชื่อเจ้าบ้าน เจ้าบ้านไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ หรือเจ้าบ้านเสียชีวิต ผู้ดูแลบ้านคนอื่น ๆ ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็สามารถขึ้นมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ซึ่งเจ้าของบ้านอาจเป็นเจ้าบ้าน ผู้ดูแลบ้าน หรืออาจไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านหลังนั้นก็ได้ หน้าที่ของ ‘เจ้าบ้าน’ กับ ‘เจ้าของบ้าน’ หน้าที่ของเจ้าบ้าน คือ การแจ้งเรื่องต่าง ๆ ตามข้อบัญญัติ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้า-ออกที่อยู่ของผู้อาศัยในบ้าน และอาจรับผิดชอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ภายในบ้าน หน้าที่ของเจ้าของบ้าน คือ การรับผิดชอบเกี่ยวกับการขาย โอนบ้านและที่ดินตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสามารถถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้อื่น รวมถึงแต่งตั้งเจ้าบ้านได้ด้วย ข้อมูลภายในทะเบียนบ้าน มีอะไรบ้าง? ภายในทะเบียนบ้านจะมีรายละเอียดของบ้านและผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น ๆ โดยมีข้อมูลดังนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน เลขรหัสประจำบ้าน : จะมีทั้งหมด 11 หลัก โดยเรียงจากรหัสจังหวัด รหัสอำเภอ และลำดับบ้านในสำนักทะเบียน รายละเอียดที่อยู่ : เป็นตำแหน่งของบ้านหลังนั้น ๆ ซึ่งข้อมูลนี้มักนำไปใช้กรอกเอกสารอื่น ๆ โดยมีข้อมูล บ้านเลขที่ หมู่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต และจังหวัด ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อบ้าน : ระบุชื่อหมู่บ้านหรือโครงการบ้าน ประเภทและลักษณะบ้าน : ระบุลักษณะของที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ตึกแถว คอนโด ฯลฯ วันกำหนดเลขที่บ้าน : ระบุวัน เดือน ปี ที่กำหนดเลขที่บ้าน ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่อยู่อาศัยในบ้าน ข้อมูลทั่วไป : เป็นข้อมูลจำเพาะของบุคคลที่อยู่อาศัยในบ้านแต่ละคน ใน 1 ชื่อมักจะมี ชื่อ, นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, เลขบัตรประชาชน, เพศ, สัญชาติ, ชื่อบิดามารดา และประวัติการย้ายที่อยู่ สถานภาพ : ภายในทะเบียนบ้านจะมีเพียง 1 คนที่มีตำแหน่งเจ้าบ้าน และบุคคลที่เหลือจะมีเพียงชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น ทะเบียนบ้าน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ทะเบียนบ้านสามารถแยกได้อีก 5 ประเภท แต่ละประเภทจะมีรายละเอียดที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้ ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน เป็นทะเบียนบ้านของผู้ที่มีสัญชาติไทย หรือต่างด้าวที่พำนักอาศัยโดยมีใบสำคัญประจำตัว ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้กับคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบตามกฎหมายชั่วคราว หรือต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทะเบียนบ้านชั่วคราว ทะเบียนบ้านชั่วคราว เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้กับสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เช่น สร้างในที่สาธารณะ สร้างโดยบุกรุก หรือป่าสงวน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านสำหรับผู้ที่แจ้งออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อไปยังบ้านเลขที่ใหม่ หรือเพื่อเดินทางออกนอกประเทศ ทะเบียนบ้านกลาง ทะเบียนบ้านกลาง ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนจัดทำให้ผู้ที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน การขอทะเบียนบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เมื่อสิ่งปลูกสร้างสำหรับพักอาศัยสร้างแล้วเสร็จ จะทำทะเบียนบ้าน ต้องใช้อะไรบ้าง? ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นการแสดงว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นดำเนินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร โฉนดที่ดิน หรือเอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน กรณีที่เป็นผู้ได้รับมอบหมาย จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ เอกสาร ท.ร.9 ที่ออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นที่อยู่ในเขตของสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการขอทะเบียนบ้าน เช็กลิสต์ ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน ทำตามได้ง่าย ๆ การขอทะเบียนบ้านใหม่ไม่ได้วุ่นวายอย่างที่คิด ทำตามขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านได้ง่าย ๆ ดังนี้ ยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้าน : เตรียมเอกสารและยื่นคำร้องให้กับสำนักทะเบียนในพื้นที่ที่สิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วันนับจากวันที่สร้างเสร็จ หากเลยเวลาที่กำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตรวจสอบเอกสาร : นายทะเบียนได้รับเอกสารและคำร้องจากผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน และทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนจะดำเนินการออกเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน โดยระยะเวลาดำเนินเรื่องจะอยู่ในช่วง 7-30 วัน ส่งมอบ : เมื่อเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านออก นายทะเบียนจะทำการส่งมอบให้กับผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน ย้ายเข้า : เมื่อได้ทะเบียนบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็สามารถดำเนินการย้ายชื่อผู้อยู่อาศัยเข้าทะเบียนบ้านได้ ต้องการแจ้งชื่อย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร? ผู้ที่เป็นเจ้าบ้านมีหน้าที่ในการแจ้งย้ายชื่อเข้าหรือออกจากทะเบียนบ้าน หากต้องการเดินเรื่องจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่มีการย้ายเข้าหรือย้ายออก ซึ่งการทำเรื่องย้ายชื่อเข้า-ออกจากทะเบียนบ้านจะต้องใช้เอกสารดังนี้ เอกสารสำหรับการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว กรณีที่ผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน พร้อมยื่นบัตรประชาชนต่อนายทะเบียนด้วย เอกสารสำหรับการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีที่ผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้านจะต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน พร้อมยื่นบัตรประชาชนต่อนายทะเบียนด้วย หากมีบ้านหลายหลัง จะใส่ชื่อในทะเบียนบ้านอย่างไร? ตามกฎหมาย 1 บุคคลจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น หากมีบ้านหลายหลังอาจต้องใช้ชื่อของคนในครอบครัวมาใส่แทน เนื่องจากการมีชื่อในทะเบียนบ้านหลายเล่มจะมีผลกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน 1. ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อได้ไหม? ทะเบียนบ้านไม่มีชื่อได้ แต่อาจมีเรื่องภาษีเมื่อขายบ้าน สำหรับบ้านที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและถือครองไม่ถึง 1 ปีจะต้องเสียภาษีธุรกิจตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 2. สามารถขอทะเบียนบ้านแทนบุคคลอื่นได้หรือไม่? กรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านด้วยตนเอง เจ้าของบ้านสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นติดต่อขอทะเบียนบ้านแทนได้ 3. ทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย ควรทำอย่างไร กรณีที่ทะเบียนบ้านชำรุดหรือสูญหาย สามารถยื่นคำร้องต่อสำนักทะเบียนเพื่อขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ได้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมคือ บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือหากเจ้าบ้านไม่สามารถยื่นเรื่องด้วยตนเองจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ ซื้อบ้านหลังใหม่ ยื่นขอทะเบียนบ้านไม่ยากอย่างที่คิด ทะเบียนบ้านก็เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวของบ้านหลังนั้น ๆ ที่ทุกบ้านจะต้องมี เมื่อสร้างบ้านใหม่แล้วเสร็จ เจ้าของบ้านมีหน้าที่ยื่นขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วันตามกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนการขอเลขที่บ้านในปัจจุบันไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ไม่ว่าจะยื่นแบบปกติหรือยื่นแบบออนไลน์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อให้การเดินเรื่องเป็นไปอย่างราบรื่น แนะนำให้เตรียมเอกสารสำคัญให้พร้อม และตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้าน
Research and Knowledge
คนมีบ้านต้องรู้! ขอทะเบียนบ้านใหม่ มีขั้นตอนและเอกสารอะไรบ้าง
Highlights การขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้านเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด และจำเป็นต้องปฏิบัติตามเมื่อก่อสร้างที่พักอาศัยต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่เจ้าบ้านมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปขอทะเบียนบ้านแทน จำเป็นจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจด้วย การขอทะเบียนบ้านใหม่ สามารถขอได้ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ เอกสารที่ต้องเตรียมไม่ซับซ้อน และมีขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้านที่ไม่ยุ่งยาก ทำความรู้จักกับทะเบียนบ้านคืออะไร มีกี่ประเภท? ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารประจำบ้านที่มีการแสดงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับที่พักอาศัยประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะบ้าน, ทาวน์โฮม, บ้านแฝด, คอนโด โดยตัวอย่างข้อมูลที่แสดงภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วย ลักษณะบ้าน, รายละเอียดที่อยู่, รหัสประจำบ้าน, และอื่น ๆ นอกจากนี้ ทะเบียนบ้านยังระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของบุคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ้าน หรือผู้พักอาศัยอีกด้วย โดยทะเบียนบ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน : เป็นทะเบียนบ้านที่ใคร ๆ ก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะทะเบียนบ้านประเภทนี้คือทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย และบุคคลต่างด้าวที่มีเอกสารสำคัญประจำตัว ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) หรือทะเบียนบ้านเล่มสีเหลือง : เป็นทะเบียนบ้านที่ออกให้ชาวต่างชาติที่พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบชั่วคราวอย่างถูกกฎหมาย และยังรวมการเข้าเมืองแบบไม่ถูกกฎหมาย ทะเบียนบ้านกลาง : ทะเบียนบ้านที่ออกให้สำหรับผู้ที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแบบทั่วไป ทะเบียนบ้านชั่วคราว : ทะเบียนบ้านที่ออกให้ในกรณีที่พักอาศัยดังกล่าวไม่ก่อสร้างตามกฎหมาย รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างในที่สาธารณะ ในเขตบุกรุก และเขตป่าสงวน ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน : เป็นทะเบียนบ้านที่ออกในกรณีผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านทั่วไป มีความประสงค์แจ้งย้ายออกไปยังที่อยู่ใหม่ ทำไมถึงต้องขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้าน การขอทะเบียนถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ทางกฎหมายกำหนด และต้องปฏิบัติตามเมื่อมีการก่อสร้างที่พักอาศัยต่าง ๆ ขึ้น หากมีการละเลย ไม่ขอทะเบียนบ้าน และเลขที่บ้านจะถือว่าผิดกฎหมาย โดยมีการกำหนดให้ยื่นขอทะเบียนบ้าน ขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน (นับตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ) หากหลังจากนั้นไม่ได้มีการยื่นเรื่องขอ จะเสียค่าปรับ 1,000 บาท เอกสารที่ในการขอทะเบียนบ้านใหม่ ใช้อะไรบ้าง ทําทะเบียนบ้านใหม่ ใช้อะไรบ้าง? รวบรวมเอกสารสำหรับใช้ในการขอทะเบียนบ้านใหม่ มีดังนี้ เอกสารใบ ท.ร.9 (ใบแจ้งเกี่ยวกับบ้าน) เอกสารใบอ.1 (ใบรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฏหมาย) สำเนาบัตรประชาชน โฉนดที่ดิน หรือเอกสารในการแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดิน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เจ้าบ้านมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาขอทะเบียนบ้านแทน จำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำคัญ ได้แก่ หนังสือมอบอำนาจพร้อมระบุรายละเอียด และลงชื่อผู้มอบอำนาจให้เรียบร้อย, สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน-ผู้รับมอบอำนาจมาแทน และสำเนาทะเบียนบ้าน ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านใหม่ทำอย่างไรบ้าง อยากทำทะเบียนบ้านใหม่ต้องรู้ กับขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ติดต่อดำเนินการขอทะเบียนบ้านใหม่กับหน่วยงานในพื้นที่ของที่พักอาศัยที่ปลูกสร้างขึ้น หากเป็นในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ติดต่อที่ “สำนักงานเขต” ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดให้ติดต่อขอทะเบียนบ้านใหม่ยัง“ที่ว่าการอำเภอ” เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารที่ได้รับแล้ว จะทำการออกเลขที่บ้าน เล่มทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน จากนั้นจะส่งมอบเล่มให้กับผู้ที่ขอทะเบียนบ้าน เป็นอันเสร็จสิ้น ชวนอ่านบทความดี ๆ เพิ่มเติม : ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ทำอย่างไรให้สะดวก และรวดเร็ว ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ ทำด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ มีอะไรบ้าง นอกจากการขอทะเบียนบ้านแบบปกติแล้ว เพื่อความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการเดินทางในการขอทะเบียนบ้าน ยังมีอีกหนึ่งในขั้นตอนง่าย ๆ ที่สามารถทำที่ไหนก็ได้อย่างการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และสะดวยสบาย ดังนี้ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DOPA-Digital ID ลงโทรศัพท์มือถือของคุณ รับรหัสผ่าน (PIN) เพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน โดยนำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตนลายนิ้วมือ และใบหน้ากับเจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนที่สำนักงานเขต สำนักงานเบียนอำเภอ หรือ สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม นอกจากการขอทะเบียนบ้านออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันแล้ว ยังมีบริการอื่น ๆ อีกมากมายที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกกับประชาชน อ่านบทความดี ๆ เพิ่มเติมที่คุณไม่ควรพลาดได้เลย : ย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ บริการที่ให้คุณทำเองได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องต่อคิว! คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับขอทะเบียนบ้านใหม่ 1. ขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่ไหน? ผู้ที่มีที่พักอาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต้องการขอทะเบียนบ้านใหม่สามารถขอได้ที่ “สำนักงานเขต” ส่วนผู้ที่มีที่พักอาศัยในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ สามารถขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่ “ที่ว่าการอำเภอ” 2. ขอทะเบียนบ้านใหม่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไร? สำหรับการขอทะเบียนบ้านจะมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการฉบับละ 20 บาท 3. กรณีทะเบียนบ้านสูญหาย ต้องการขอทะเบียนบ้านใหม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? ในกรณีที่ทะเบียนบ้านสูญหาย และมีความต้องการขอเล่มใหม่ กรณีนี้ใช้เอกสารเพียงบัตรประชาชนของเจ้าบ้านเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ เพื่อนำใบแจ้งความมาใช้เป็นเอกสารประกอบในยื่นคำร้องแต่อย่างใด ขอทะเบียนบ้านใหม่ เตรียมเอกสารง่าย ทำเองได้ไม่ยาก เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับสาระดี ๆ เกี่ยวกับการขอทะเบียนบ้านใหม่ จะเห็นได้การขอทะเบียนบ้านนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทางกฎหมายบังคับให้ยื่นเรื่องขอตามระยะเวลาที่กำหนด ที่สำคัญยังมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน สามารถยื่นดำเนินเรื่องขอทะเบียนบ้านใหม่ได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือแม้กระทั่งจะยื่นขอทางออนไลน์ก็ได้เช่นกัน
Research and Knowledge
ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ต้องทำอะไรบ้าง? เจาะลึกวิธีไหว้แบบละเอียดและถูกต้อง!
การไหว้เจ้าที่หน้าบ้านเป็นประเพณีที่คนไทยปฏิบัติมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่าการไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลปกป้องบ้านเรือน แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าการไหว้ศาลเจ้าที่ที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก บทสวดไหว้เจ้าที่บ้านเป็นอย่างไร และไหว้เจ้าที่ใช้อะไรบ้าง บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อข้องใจทุกประเด็น พร้อมเจาะลึกวิธีไหว้เจ้าที่แบบละเอียด เพื่อให้คุณประกอบพิธีได้อย่างถูกต้อง Highlights การไหว้เจ้าที่บ้านใช้ธูปกี่ดอก ตามความเชื่อดั้งเดิมแนะนำให้จุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอกและเทียน 2 เล่ม พร้อมถวายเครื่องสักการะอื่น ๆ เช่น ดอกไม้สด อาหารคาวหวาน พระภูมิและเจ้าที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อไทย โดยพระภูมิเป็นเทพารักษ์ที่ดูแลพื้นที่โดยรวม ส่วนเจ้าที่เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่เคยอยู่อาศัยในบริเวณนั้นมาก่อน การไหว้เจ้าที่ควรทำในช่วงเช้าถึงเที่ยง ระหว่าง 08:39 - 10:09 น. ของวันอังคารหรือวันเสาร์ โดยทั่วไปแนะนำให้ไหว้ทุก 3 หรือ 6 เดือน ความแตกต่างระหว่างศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่คืออะไร? ศาลพระภูมิและศาลเจ้าสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านเรือน คอนโด และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของความหมาย ลักษณะ ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก และวิธีบูชา ซึ่งการทำความเข้าใจความแตกต่างจะช่วยให้เราไหว้ศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่ได้อย่างถูกต้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ศาลพระภูมิ การไหว้ศาลพระภูมิเป็นที่สถิตของเทพผู้พิทักษ์ที่ปกป้องดูแลบ้านเรือน โดยลักษณะของศาลพระภูมิมักเป็นอาคารจำลองขนาดย่อมตั้งอยู่บนเสาเดี่ยว อยู่บนพื้นที่โล่ง ไม่ถูกบังด้วยเงาบ้าน ไม่ตรงกับประตู และสูงเหนือระดับสายตาเพื่อแสดงความเคารพ ซึ่งการบูชาและถวายข้าวพระภูมิเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล ศาลเจ้าที่ ศาลเจ้าที่หรือศาลตายาย เป็นการแสดงความเคารพต่อวิญญาณผู้ดูแลที่ดินมาแต่เดิม โดยการจุดธูปบอกเจ้าที่เป็นการเชิญผู้พิทักษ์เดิมให้มาสถิต โครงสร้างของศาลมักจำลองแบบเรือนไทยย่อส่วน ฐานมีเสา 4-6 ต้น สูงน้อยกว่าศาลพระภูมิ ควรอยู่ในพื้นที่โล่งสะอาดตา และหลีกเลี่ยงการตั้งศาลในตำแหน่งที่ตรงกับทางเข้า ห้องน้ำ หรือใต้บันได ไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก เคล็ดลับการไหว้อย่างถูกวิธี การไหว้เจ้าที่บ้านใช้ธูปกี่ดอก คำตอบก็คือความเชื่อดั้งเดิมนั้น การจุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอกและเทียน 2 เล่ม ถือเป็นจำนวนที่เหมาะสมและเป็นมงคล โดยนอกจากธูปแล้ว อาจมีการถวายเครื่องสักการะอื่น ๆ ประกอบคาถาไหว้เจ้าที่ในบ้าน เช่น ดอกไม้สด อาหารคาวหวาน ความหมายของจำนวนธูป ข้อควรรู้ที่ต้องเช็กก่อนจุด! การจุดธูปเป็นส่วนสำคัญของคํากล่าวไหว้เจ้าที่ ศาลพระภูมิ และพิธีกรรมหลายอย่าง ซึ่งจำนวนธูปที่ใช้นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะจุดธูปในคาถาบูชาเจ้าที่หรือในโอกาสต่าง ๆ จึงมีข้อควรรู้ ดังนี้ ธูป 1 ดอก : มักใช้ในการบูชาวิญญาณท้องถิ่น เช่น ผีบ้านผีเรือน ธูป 3 ดอก : แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ธูป 5 ดอก : บูชาเจ้าที่ รวมถึงพระรัตนตรัยและแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา ธูป 7 ดอก : ใช้ในการติดต่อกับจิตวิญญาณ โดยเฉพาะศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ ธูป 9 ดอก : บูชาเทพเจ้าระดับสูง เจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวดา การไหว้ศาลพระภูมิให้ถูกต้องตามธรรมเนียมปฏิบัติ การไหว้ศาลพระภูมิเป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาบ้าน ทาวน์โฮม และที่ดิน ซึ่งการปฏิบัตินั้นมีรายละเอียดที่ควรใส่ใจ โดยเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติและครอบครัว ในหัวข้อนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงวิธีไหว้ศาลพระภูมิอย่างถูกต้องกัน บทสวดไหว้ศาลพระภูมิ คาถาไหว้ศาลพระภูมิเริ่มต้นด้วยการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3 ครั้ง จากนั้นจึงเข้าสู่บทไหว้ศาลพระภูมิ "ยัสสา มุสสะระเณ นาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ปะติฎ ฐะมะ ธิคัจฉันติ ภูมิยังวิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจรา ทิสัมภะวา คะณะนา ณะจะ มุตตานัง ปะริตตันตัม ภาณามะเหฯ” ของถวายศาลพระภูมิ การถวายข้าวศาลพระภูมิประกอบด้วยอาหารหลากหลายประเภท เริ่มจากอาหารคาวที่ปรุงสุกแล้ว เช่น ข้าวสวย แกงจืด และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ตามด้วยขนมหวานไทยที่มีชื่อเป็นมงคล อาทิ ทองหยิบ ฝอยทอง ส่วนผลไม้ไหว้ศาลพระภูมิ 5 อย่างจะเป็นผลไม้มงคล อย่างกล้วย มะพร้าว เครื่องดื่มมีทั้งน้ำเปล่า น้ำหวาน หรือสุรา วันและเวลาที่ควรไหว้ ไหว้ศาลพระภูมิ เวลาไหนดี ตามความเชื่อ วันที่เหมาะสมมีหลากหลาย ได้แก่ วันคล้ายวันเกิดของผู้ทำพิธี วันพระ รวมถึงวันอังคารและวันเสาร์ ซึ่งถือเป็นวันมงคล สำหรับคนที่ได้ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ 2567 แล้ว ขอแนะนำให้ทำพิธีในช่วงเช้าถึงเที่ยง โดยเฉพาะตั้งแต่เวลา 09.09 น. ซึ่งถือเป็นเวลามงคล ไปจนถึงเวลาเที่ยงตรง การไหว้ศาลเจ้าที่มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? หลังจากรู้แล้วว่าการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก พิธีนี้ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่อาจไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย โดยในหัวข้อนี้เราจะมาทำความรู้จักกับข้อควรรู้เกี่ยวกับพิธีและบทไหว้เจ้าที่บ้าน โดยมีข้อมูลดังนี้ บทสวดไหว้ศาลเจ้าที่ คาถาไหว้ศาลตายายหรือศาลเจ้าที่ เริ่มจากการกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" 3 ครั้ง จากนั้นจึงสวดคาถาไหว้เจ้าที่บ้านบทเฉพาะ “ตา-ยาย ยัสมิง ทิสาภาเค สันติ ตายายเทวา มหิทธิกา เตปิตุมเห อนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะจะ” 3 ครั้ง และต่อด้วย “สิโรเม ขอเดชะ ตายายเทวา เจ้าของที่ ขอให้ช่วยดูแลคุ้มครองรักษาบ้านเรือน (ชื่อสถานที่) และข้าพเจ้าผู้อยู่อาศัยในสถานที่นี้ (คำอธิษฐาน) โสตถิ ชัยยะ ภะวันตุ เม” ของถวายศาลเจ้าที่ ของถวายประกอบคาถาไหว้เจ้าที่บ้านกลางแจ้งมีทั้งคาวและหวาน เช่น อาหารปรุงสุกจากเนื้อสัตว์ ข้าว และแกงต่าง ๆ ส่วนขนมหวานมักเป็นขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคล ผลไม้ที่เลือกใช้ก็มีความหมายดี โดยเครื่องดื่มที่นิยมถวาย ได้แก่ น้ำเปล่า ชา และน้ำอัดลม โดยเฉพาะน้ำแดงที่สื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ วันและเวลาที่ควรไหว้ การไหว้เจ้าที่ก่อนเข้าอยู่บ้านใหม่มักทำในช่วงเช้าถึงเที่ยงของวัน แต่หากต้องการความเป็นสิริมงคลสูงสุดในการขึ้นบ้านใหม่ ควรเลือกช่วงเวลาระหว่าง 8:39-10:09 น. ของวันอังคารหรือวันเสาร์ นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำให้ปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อขอพรให้คุ้มครองผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ตำแหน่งการจัดวางศาลเจ้าที่และศาลพระภูมิเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร นอกจากเรื่องการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ไหว้ศาลพระภูมิใช้ธูปกี่ดอกแล้ว การจัดวางศาลแต่ละประเภทก็มีความแตกต่าง ซึ่งศาลทั้งสองต้องไม่ตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน โดยศาลพระภูมิมักตั้งบนพื้นดินนอกตัวบ้าน ห่างจากรั้วอย่างน้อย 1 เมตร และสูงกว่าระดับสายตา ขณะที่ศาลเจ้าที่สามารถตั้งภายในบ้านบนพื้นธรรมดาได้ โดยอาจเสริมด้วยแผ่นเงินหรือทองใต้ศาล คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก แม้ว่าการไหว้เจ้าที่จะเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ แต่ก็ยังมีคำถามและข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยในส่วนนี้เราจะมาดูคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการไหว้เจ้าที่ เพื่อให้เข้าใจประเพณีนี้ได้ดียิ่งขึ้น 1. การลาของไหว้เจ้าที่ทำอย่างไร การลาของไหว้เจ้าที่กลางแจ้ง หลังจากธูปดับแล้ว ให้ดับเทียนและนำมือแตะที่ภาชนะใส่เครื่องเซ่นไหว้ จากนั้นกล่าวคำอัญเชิญให้เจ้าที่อนุญาต เช่น "ขอเดนขอทานให้ลูกหลานได้กิน เพื่อความเป็นสิริมงคล" โดยคำกล่าวอาจแตกต่างกันไปตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น 2. ไหว้เจ้าที่บ้านบ่อยแค่ไหนจึงจะเหมาะสม ความถี่ในการไหว้เจ้าที่ไม่มีแน่นอนตายตัว ต่างจากเรื่องการไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก โดยความถี่จะขึ้นอยู่กับความสะดวกและสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วแนะนำให้ทำพิธีทุก 3-6 เดือน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติด้วยความจริงใจและสม่ำเสมอ ตามกำลังความสามารถของแต่ละครอบครัว สรุป การไหว้เจ้าที่ พิธีศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล แม้ว่าโลกปัจจุบันจะก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่การรักษาประเพณีดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นเรื่องฤกษ์ยาม ของขวัญขึ้นบ้านใหม่ที่เป็นมงคล ไปจนถึงการไหว้เจ้าที่บ้านก็ยังคงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้คน พิธีกรรมนี้ไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้รวมตัวกัน การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม เช่น การไหว้เจ้าที่ใช้ธูปกี่ดอก ก็เป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดภูมิปัญญาและความเชื่อจากบรรพบุรุษ ซึ่งช่วยให้เกิดความสบายใจและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้เป็นอย่างดี
Inspiration
ค่าธรรมเนียม ขายฝาก พร้อมข้อควรรู้ อัปเดตปี 2567
Highlights ขายฝาก คือ การที่ผู้ขาย ขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อ โดยผู้ขายยังคงมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่ต้องชำระ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน และค่านายหน้า ไถ่ถอนขายฝาก เสียค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.5% โดยปกติ ผู้ขายฝากเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม แต่สามารถตกลงกันได้ในสัญญา กรณีต่อสัญญาขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินแปลงละ 50 บาท ค่าธรรมเนียมขายฝาก ที่ต้องชำระมีอะไรบ้าง ฉบับปี 2567 สำหรับผู้ที่ต้องการขายฝากที่ดิน คำถามที่หลายคนสงสัยคงหนีไม่พ้น ขายฝากต้องเสียค่าอะไรบ้าง? โดยปกติแล้วการขายฝากที่ดิน ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 ส่วน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน และค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนขายฝากที่กรมที่ดิน ประกอบไปด้วย ค่าคำขอ : แปลงละ 5 บาท เป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอจดทะเบียนขายฝาก ค่าพยาน : 20 บาท เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับพยานในการทำสัญญา ค่าธรรมเนียมการโอน : คิดเป็น 2% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : คิดเป็น 3.3% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก โดยจะเสียในกรณีที่ถือครองที่ดินน้อยกว่า 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี (บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีขายฝากที่ดิน แบบธุรกิจเฉพาะ) ค่าอากรแสตมป์ : คิดเป็น 0.5% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดสูงกว่า หากมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับการยกเว้นค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมจดจำนอง : คิดเป็น 1% ของจำนวนเงินกู้หรือวงเงินจำนอง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย : คำนวณตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ถือครองทรัพย์สินและอัตราภาษีที่กำหนด นอกจากค่าธรรมเนียมข้างต้นแล้วในกรณีที่จ้างนายหน้า จะต้องจ่ายค่านายหน้า เมื่อนายหน้าสามารถหาผู้รับซื้อฝากได้สำเร็จ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งค่าธรรมเนียม ขายฝาก ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาประเมินหรือราคาขายฝากของทรัพย์สิน โดยปกติแล้วจะคิด 5% ของยอดการขายฝาก วิธีคำนวณค่าธรรมเนียมขายฝาก ในส่วนที่ต้องให้นายหน้า เช่น ขายฝากที่ดิน 5 ล้านบาท เสียค่านายหน้า 250,000 บาท การขายฝากคืออะไร การขายฝาก คือการที่ผู้ขาย ขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อ โดยผู้ขายยังคงมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หากผู้ขายสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินภายในระยะเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินนั้นจะกลับคืนเป็นของผู้ขาย แต่หากไม่สามารถไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นของผู้ซื้ออย่างถาวร ปกติแล้วการขายฝากมักใช้ในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน โดยที่ยังต้องการเก็บสิทธิ์ในการได้ทรัพย์สินนั้นคืน หากสามารถหาเงินมาไถ่ถอนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ขายฝากกับจํานอง ต่างกันอย่างไร? หลายคนมักจะสับสนระหว่างการขายฝากกับการจำนอง เนื่องจากทั้งสองอย่างเป็นการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน แต่มีความแตกต่างกัน โดยการขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากมีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่การจำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงอยู่กับผู้จำนอง แต่จะถูกจำกัดสิทธิ์ในการโอนหรือจำนองทรัพย์สินนั้น ขั้นตอนการขายฝาก มีอะไรบ้าง? การขายฝาก เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสดอย่างรวดเร็ว โดยยังคงสิทธิ์ในการไถ่ถอนทรัพย์สินกลับคืนในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจทำสัญญาขายฝาก ควรทราบถึงค่าธรรมเนียม ขายฝาก และขั้นตอนต่าง ๆ ในการดำเนินการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ : ได้แก่ ปรึกษาทนายความ เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาและเงื่อนไขต่าง ๆ ปรึกษานายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยประเมินราคาทรัพย์สินและหาผู้รับซื้อฝาก และปรึกษาสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อหรือปรึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระหนี้ ประเมินราคาทรัพย์สิน : ผู้เชี่ยวชาญจะทำการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อกำหนดวงเงินกู้ที่ได้รับ เตรียมเอกสาร : เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น โฉนดที่ดิน บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ทำสัญญาขายฝาก : ทำสัญญาขายฝากระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก โดยระบุรายละเอียด เช่น ราคาทรัพย์สิน ระยะเวลาในการไถ่ถอน และอัตราดอกเบี้ย จดทะเบียนสัญญา : นำสัญญาไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน เพื่อให้สัญญามีผลทางกฎหมาย รับเงิน : ผู้ขายฝากจะได้รับเงินกู้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ ชำระหนี้ : ผู้ขายฝากต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา พร้อมทั้งดอกเบี้ย ไถ่ถอนทรัพย์สิน : เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ เอกสารที่ใช้ในการขายฝาก มีอะไรบ้าง? นอกจากค่าธรรมเนียม ขายฝาก อีกสิ่งที่ผู้ขายทุกคนจะต้องรู้ คือเอกสารที่ต้องใช้ในการขายฝาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการขายฝาก เพื่อให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น และมีความถูกต้องตามกฎหมาย การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนจะช่วยให้กระบวนการขายฝากเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็วและไม่มีปัญหา โดยควรเตรียมเอกสาร ดังนี้ เอกสารแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน : เช่น โฉนดที่ดิน หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ บัตรประชาชนของผู้ขายและผู้ซื้อ : ใช้เพื่อยืนยันตัวตนของทั้งสองฝ่าย ทะเบียนบ้านของผู้ขายและผู้ซื้อ : ใช้ตรวจสอบที่อยู่และข้อมูลส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย เอกสารการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน : รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ในการกำหนดราคาขายฝาก สัญญาขายฝาก : เอกสารที่ร่างขึ้นโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน, ราคาขายฝาก, ระยะเวลาไถ่ถอน และเงื่อนไขการไถ่ถอน ใบเสร็จรับเงิน : เอกสารที่แสดงการรับเงินจากการขายฝาก (ถ้ามี) เอกสารการจดทะเบียนขายฝาก : เช่น แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนขายฝาก คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ขายฝาก 1. หากไถ่ถอนขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมไหม? การไถ่ถอนขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน ค่าธรรมเนียม ขายฝากนี้จะคิดจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ไถ่ถอน โดยอัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปตามประเภทของทรัพย์สินและมูลค่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าคำขอ : แปลงละ 5 บาท ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาที่ไถ่ถอน ค่าพยาน : 20 บาท ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม : 2% ของราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : บุคคลธรรมดา : ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ นิติบุคคล : ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย : คิดจากราคาประเมินที่ดิน และระยะเวลาการไถ่ถอนนับจากวันที่จดทะเบียนขายฝากจนถึงวันไถ่ถอน 2. ใครเป็นคนชำระค่าธรรมเนียมขายฝาก? อีกคำถามที่หลายคนสงสัย คือค่าธรรมเนียมขายฝาก ใครจ่าย? โดยปกติแล้ว ผู้ขายฝากจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการขายฝาก อย่างไรก็ตาม สามารถตกลงกันได้ระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากว่าใครจะเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้าง โดยอาจระบุไว้ในสัญญาขายฝาก 3. กรณีต่อสัญญาขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร และทำอย่างไรบ้าง? ค่าธรรมเนียมต่อสัญญาขายฝาก จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญาที่สำนักงานที่ดิน สำหรับใครที่ต้องการทราบว่าค่าธรรมเนียม ในการต่อสัญญาขายฝากที่ดินเท่าไหร่ โดยปกติ ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาขายฝาก มักจะคิดแปลงละ 50 บาท อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมนี้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสัญญาเดิม และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสัญญาใหม่ ขั้นตอนการต่อสัญญาขายฝากโดยทั่วไป ตกลงกัน : ทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากต้องตกลงร่วมกันว่าจะขยายระยะเวลาการไถ่ถอน โดยทำเป็นหนังสือข้อตกลงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เตรียมเอกสาร : หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน (โฉนด) สัญญาขายฝากฉบับเดิม หนังสือข้อตกลงขยายสัญญาขายฝาก (ลงนามโดยทั้งสองฝ่าย) ทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของทั้งสองฝ่าย ยื่นคำขอ : นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน ชำระค่าธรรมเนียม : ชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญา รับหนังสือรับรองการจดทะเบียน : เมื่อการจดทะเบียนเสร็จสิ้น จะได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนฉบับใหม่ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก อัปเดตฉบับปี 2567 เรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ การทำธุรกรรมขายฝาก นอกจากตัวสัญญาแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละกรณี โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สิน และระยะเวลาที่ถือครองทรัพย์สิน ค่าธรรมเนียมขายฝากที่ดิน 2567 ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน, ค่าอากรแสตมป์, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าทนายความ และค่านายหน้า สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าค่าธรรมเนียมขายฝาก คิดยังไง จริง ๆ แล้วค่าธรรมเนียม ขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ที่คุณจะดำเนินการ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี หรือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรและสำนักงานที่ดิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกรณีของคุณ
Research and Knowledge